วันพฤหัสบดีที่ 12 สิงหาคม พ.ศ. 2553

คำสั่งภาษา C++

สรุปคำสั่งภาษา C++ ที่เคยเรียนมาทั้งหมด



ตัวอย่าง int a ;

หมายความว่า ประกาศตัวแปร a เป็นตัวแปรที่ใช้สำหรับเก็บค่าที่เป็นเลขจำนวนเต็มที่มีค่าอยู่ระหว่าง -35768 ถึง 32767

ตัวอย่าง int num1=8;

หมายความว่า ประกาศตัวแปร num1 เป็นตัวแปรที่เก็บค่าตัวเลขจำนวนเต็ม โดยให้ค่าเริ่มต้นเท่ากับ 8

ตัวอย่าง float money,price ; คือ money และ price เป็นตัวแปรที่ใช้สำหรับเก็บค่าที่เป็นเลขทศนิยม โดยจะให้ตำแหน่งทศนิยมได้ไม่เกิน 6 หลัก

ตัวอย่าง char ch=’A’ คือ ch เป็นตัวแปรที่เก็บค่าตัวอักษรเพียง 1 ตัว คือ ตัวอักษร ‘A’

ตัวอย่าง unsigned long int test; คือ ประกาศตัวแปร test เป็นตัวแปรที่ใช้สำหรับเก็บค่าที่เป็นเลขจำนวนเต็ม แบบยาวที่ไม่คิดเครื่องหมาย

ฟังก์ชั่น printf() คือ ใช้ในการแสดงผล
รูปแบบการเขียน printf("ข้อความ");

ฟังก์ชัน scanf() คือ ใช้ในการเก็บข้อมูล
รูปแบบการเขียน คือ scanf("ฟอเมท โค้ด", &ตัวแปร);    หมายเหตุ ใช้ร่วมกับ ฟังชั่น printf();

ฟังก์ชัน getchar()   คือ ใช้สำหรับป้อนตัวอักษรผ่านทางแป้นพิมพ์โดยจะรับตัวอักษรเพียง 1 ตัวเท่านั้น และแสดงตัวอักษรบนจอภาพ
รูปแบบการเขียน  คือ ch = getchar();

ฟังก์ชัน clrscr();  คือ เป็นฟังก์ชันลบข้อความบนจอภาพ ถูกนิยามไว้ใน conio.h
รูปแบบการเขียน คือ clrscr();

ฟังก์ชัน textcolor(); คือ เป็นฟังก์ชันที่ใช้กำหนดสีของตัวอักษรจะต้องใช้ร่วมกับฟังก์ชัน cprintf();ถูกนิยามไว้ใน conio.h
รูปแบบการเขียน คือ textcolor(ค่าสี);

ฟังก์ชัน cprintf(); คือ เป็นฟังก์ชันที่ใช้แสดงข้อความหรือตัวอักษรเป็นสี ออกทางจอภาพตามค่าสีที่กำหนดไว้ในฟังก์ชัน textcolor(); และมีรูปแบบการใช้งานเหมือนกับฟังก์ชัน printf(); ต่างกันตรงที่การแสดงข้อความออกมาเป็นสี

ฟังก์ชัน textbackground(); คือ เป็นฟังก์ชันที่ใช้กำหนดสีพื้นของการแสดงข้อความหรือตัวอักษรและจะต้องใช้ร่วมกับฟังก์ชัน cprintf(); และtextcolor(); ถูกนิยามไว้ใน conio.h
รูปแบบการเขียน คือ textbackground(ค่าสี);

ฟังก์ชัน gotoxy();  คือ เป็นฟังก์ชันที่ใช้กำหนดตำแหน่งในการแสดงผลจะต้องใช้ร่วมกับฟังก์ชัน printf(); หรือ cprintf(); ถูกนิยามไว้ใน conio.h
รูปแบบการเขียน คือ gotoxy(ตำแหน่งแกน x,ตำแหน่งแกน y);

ฟังก์ชัน if() คือ เป็นฟังก์ชันที่ใช้ในการเปรียบเทียบข้อมูลเพื่อใช้ในการตัดสินใจ ถ้าเป็นจริงจะทำชุดฟังก์ชันที่1แต่ถ้าเป็นเท็จจะทำชุดฟังก์ชันที่ 2 ซึ่งในชุดฟังก์ชันที่ 2 จะมีหรือไม่ก็ได้
รูปแบบการเขียน

if(ตัวแปร ตัวกระทำเปรียบเทียบ ค่าคงที่หรือตัวแปร)


{

ชุดฟังก์ชันที่ 1

}

else

{

ชุดฟังก์ชันที่ 2

}

ฟังก์ชัน switch() คือ ใช้ในการเปรียบเทียบข้อมูลซึ่งเหมาะสำหรับการเปรียบเทียบข้อมูลหลายๆ ทางเลือกและฟังก์ชัน switch() จะไม่สามารถเปรียบเทียบข้อมูลแบบมากกว่าหรือน้อยกว่าได้แต่จะเปรียบข้อมูลกับค่าคงที่,ตัวอักษรหรือตัวแปร

รูปแบบการเขียน

switch(ตัวแปร)


{ case 1: ชุดฟังก์ชันที่1 break;

case 2: ชุดฟังก์ชันที่2 break;

case 3: ชุดฟังก์ชันที่3 break;

case 4: ชุดฟังก์ชันที่4 break;

default: ชุดฟังก์ชันที่5

}

ฟังก์ชัน for() คือ เป็นฟังก์ชันวนลูปหรือวนรอบใช้ในการเขียนโปรแกรมที่มีลักษณะการทำงานวนรอบซ้ำๆ กันและมีจำนวนรอบที่คงที่
รูปแบบการเขียน

for(ชุดคำสั่ง)


{

ชุดคำสั่ง

}

ฟังก์ชัน do_while(); คือ เป็นฟังก์ชันลูปหรือวนรอบ การทำงานจะทำชุดฟังก์ชันก่อนจากนั้นจะทำการตรวจสอบเงื่อนไขถ้าเงื่อนไขเป็นจริงก็จะทำชุดฟังก์ชันในลูปต่อแต่ถ้าเงื่อนไขเป็นเท็จจะออกจากลูป
รูปแบบการเขียน

do
{
ชุดคำสั่ง
}
while(เงื่อนไข);

ฟังก์ชัน while()  คือ เป็นฟังก์ชันวนลูปหรือวนรอบ การทำงานจะทำการตรวจสอบเงื่อนไขก่อนถ้าเงื่อนไขเป็นจริงจะทำชุดฟังก์ชันภายในปีกกาเปิดและปิด แต่ถ้าเงื่อนไขเป็นเท็จจะออกจากลูป
รูปแบบการเขียน

while(เงื่อนไข)
{
ชุดคำสั่ง
}
















             

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น